09 กันยายน 2563

วิธีป้องกันและการดำเนินการของประเทศไทย

 วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

1.ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์

2.รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม

3.สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้

4.ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก

5.ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม

6.เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย

7.หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากโปรดไปพบแพทย์


การดำเนินการของประเทศไทย

1.มีการเว้นระยะห่าง

2.ตรวจวัดอุณหภูมิ

3.ไม่อยู่รวมกันเยอะๆ










ข้อมูลการระบาดของโรค ที่มา ให้รู้จักโรคความเป็นมาของโรค Covid-1

  

ข้อมูลการระบาดของโรค ที่มา ให้รู้จักโรคความเป็นมาของโรค Covid-19  



  • โรคโควิด 19 คือโรคติดต่อซ ึ่ งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดทที่มีการ ค้นพบล่าสุด 


• ไวรัสและโรคอุบัติใหม่นี ้ ไม่เป็นท ี่ รู้จั
กเลยก่อนท ี่ จะมีการระบาดใน เมืองอู่ฮั่ น ประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี2019

• ขณะน ี ้ โรคโควิด19 มีการระบาดใหญ่ไปทั่ ว ส่งผลกระทบแก่หลาย ประเทศทั่ วโลก











26 สิงหาคม 2563

วิทยาการข้อมูล

 

วิทยาการข้อมูล 


วิทยาการข้อมูล (Data Science)


ข้อมูลกำลังพลจากฐานข้อมูลมโหรี หากนำมาวิเคราะห์ด้วย Human resource analytics ก็น่าจะช่วยในการวางแผนกำลังพลและการสืบทอดตำแหน่ง (Succession planning) ได้อีกเช่นกัน

เราอาจจะสามารถนำ Facial recognition มาใช้วิเคราะห์ใบหน้าของผู้ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ก่อการร้ายและเทียบกับฐานข้อมูลใบหน้าของผู้ก่อการร้ายได้

เราสามารถติดตั้ง sensor ที่อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ซึ่งมีการใช้งาน หากพบการสั่นหรือความร้อนผิดปกติก็สร้างแบบจำลองการอยู่รอดเพื่อใช้ในการบำรุงรักษายุทโธปกรณ์ในเชิงทำนายที่เรียกว่า Predictive maintenance ได้เป็นต้น

เราสามารถนำความรู้ทางวิทยาการข้อมูล มาศึกษาวิเคราะห์ความคิดของประชาชนได้ ซึ่งหากทำได้ดีจะช่วยให้กิจการพลเรือนและปฏิบัติการทางจิตวิทยา (Psychological operations) ทำได้ดีมากขึ้น

แท้จริงแล้วงานด้านวิทยาการข้อมูลทางการทหาร เป็นงานเสนาธิการ (Strategist) แต่เป็นเสนาธิการที่ไม่ได้นำเสนอยุทธศาสตร์หรือ Quick win จากความรู้สึกส่วนตัวหรือการวิเคราะห์โดยสัญชาตญาณ หากแต่เป็นการวิเคราะห์เพื่อประเมินยุทธศาสตร์มาจากข้อมูลจริง ที่ต้องอาศัยวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถิติศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ มาประกอบกัน เป็นการสร้างความรู้ที่นำไปปฏิบัติได้จริง (Actionable knowledge) จากข้อมูลต่างๆ ของกองทัพไทย จะช่วยให้กองทัพมีความทันสมัย ถ้ามีความสามารถสูงมากก็อาจจะสามารถสร้างอาวุธหรืออย่างน้อยซ่อมแซมบำรุงรักษาอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เองในระดับหนึ่งซึ่งจะช่วยทำให้ประหยัดงบประมาณของทางราชการไปได้ และทำให้กองทัพมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กษะที่จำเป็น

  Data Scientist คืออาชีพที่บูรณาการองค์ความรู้หลายด้าน ทั้งทักษะทางตรง (Hard skill) และ ทักษะทางอ้อม (Soft skill) ประกอบไปด้วย

  • ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ

  Data Scientist คือบุคคลที่มีความรู้คณิตศาสตร์เชิงลึกและสถิติ เพื่อนำมากลั่นกรองและตีความผลลัพท์ของข้อมูล เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเองของโปรแกรมต่างๆ (Machine Learning) การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) หรือพีชคณิต (Algebra) 

มีความชำนาญการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการเขียนโค้ด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และสร้างแบบจำลองในการพัฒนาระบบหรือผลิตภัณฑ์ รวมถึงทักษะการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ (Visualization) สื่อสารข้อมูลออกเป็นกราฟหรือภาพที่เข้าใจได้ง่าย

ทักษะนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาขาที่เรียนได้ อาจอาศัยประสบการณ์การทำงานร่วมด้วย ความรู้ด้านธุรกิจและทักษะการตลาดเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่แพ้ความรู้เฉพาะทางเลย เพราะจะช่วยให้ Data Scientist เข้าใจกลไกทางธุรกิจและคาดการณ์เทรนด์การตลาดได้  โดยพื้นฐานแล้วต้องเป็นผู้ที่สนใจโซเชียลมีเดียและสนใจเรื่องในกระแสสังคม เพื่อนำมาเชื่อมโยงกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจ

  • ทักษะการสื่อสาร

การสื่อสารอาจเป็นทักษะที่ถูกมองข้าม ทั้งที่จริงแล้วเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะ Data Scientist 

คือคนที่ต้องสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานฝ่ายอื่นๆ เช่น ฝ่ายการตลาด ธุรกิจ เซลส์ ที่อาจไม่มีความรู้ด้าน Data โดยตรง พูดง่ายๆ ก็คือสามารถอธิบายเรื่องยากให้คนทั่วไปเข้าใจได้ โดยการเลือกวิธีนำเสนอที่เหมาะสมกับข้อมูลแต่ละประเภท ข้อมูลบางอย่างอาจจะเหมาะทำเป็นกราฟ แผนภูมิ หรือ Infographics 

 




ยุค 5G/6G , Iot , AI

                                 ยุค  5G/6G ,  Iot  , AI


  หลายคนคงตาเบิกโพลงและถามด้วยเสียงสองว่า “บ้าเหรอ? 5G ยังไม่ได้ใช้เลย 6G คืออะไรกัน?”💜

แต่นั้นคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เมื่อ 5G กำลังจะถูกทยอยนำมาใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มต้นตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป เหล่าวิศวกรทั้งหลายก็หันมาให้ความสนใจกับขั้นต่อไปของเทคโนโลยีว่าจะออกมาในรูปแบบไหน

คงเป็นเรื่องยากที่จะโต้แย้งว่าเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายได้เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของมนุษย์ ทั้งการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองและมนุษย์กับโลกทั้งใบ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ นี่อาจจะเป็นสิ่งเดียวที่เป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของยุคสมัยศตวรรษที่ 21

โดยเจ้าเทคโนโลยีล่าสุด 5G (ระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 5) นั้น ทั่วโลกเริ่มมีการทดสอบและลองใช้กันบ้างแล้ว (ในงานกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่เมืองพย็องชัง ประเทศเกาหลีใต้) ซึ่งก็นำมาสู่คำถามที่ว่าหลังจากนี้จะมีอะไรอีก? 6G จะเป็นแบบไหนกัน? แตกต่างกันยังไง? มีอะไรที่สามารถทำเพิ่มขึ้นมาได้บ้างจาก 5G? 

คำตอบอาจจะยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก แต่ก็มีบางอย่างที่พอเป็นเค้าลางให้เห็นว่ามันน่าจะออกมาในรูปแบบไหน เรื่องนี้ต้องขอบคุณผลงานของ Razvan-Andrei Stoica และ Giuseppe Abreu ที่มหาวิทยาลัย Jacobs University Bremen ประเทศเยอรมนี ทั้งสองคนได้นำเอาข้อจำกัดของเทคโนโลยี 5G มาชำแหละและดูว่ามีปัจจัยไหนที่สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนให้พัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย และ 6G น่าจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยี AI 

ก่อนอื่นต้องปูทางเกี่ยวกับ 5G สักหน่อย อย่างแรกเลยที่ต้องบอกก็คือว่า 5G นั้นพัฒนามาไกลกว่ามาตรฐานของ 4G ที่เราใช้อยู่ตอนนี้เป็นอย่างมาก อย่างแรกคือเรื่องความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า 4G อย่างที่เรียกว่าเทียบกันไม่เห็นฝุ่น โดย 5G จะมีความเร็วประมาณ 20Gbps เทียบกับ 4G แล้วจะเร็วกว่า 100-200 เท่า! (4G อยู่ที่ 10-20 Mbps) ถ้าเปรียบเทียบเป็นภาพยนตร์ HD สักเรื่องบน 4G ถ้าไปอยู่บน 5G ก็จะดูหนังแบบ 8K ได้ประมาณ 400 เรื่องในเวลาเดียวกัน และนั้นอาจจะฟังดูน่าทึ่งแล้วในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่จบเท่านั้น สิ่งที่ทำให้ 5G นั้นน่าสนใจอีกอย่างคือ Low Latency Rate หรือความไวในการตอบสนองของข้อมูล สามารถสั่งงานควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที จากตอน 4G เฉลี่ยใช้งานจริงจะอยู่ราว 100-200ms แต่เมื่อเป็น 5G จะลดลงไปถึง 100 เท่า เหลือน้อยกว่า 1ms ทางทฤษฎี 


                                                                      







ฟอร์มของภูบดินทร์

กำลังโหลด…